10 สิ่งที่ต้องรู้เรื่องแอร์

10เรื่องที่ควรรู้

เมื่อต้องไปซื้อแอร์หรือจะซ่อมแอร์ ต้องคุยกับพนักงานหรือช่าง แต่ไม่รู้ว่าเขาหมายถึงอะไร? และไม่รู้ว่าต้องเลือกแอร์อย่างไรให้เหมาะสมกับความต้องการของเรา การรู้จักศัพท์ที่เกี่ยวกับแอร์ไว้ก่อนก็ดีต่อการสื่อสารและเข้าใจการทำงานของแอร์มากขึ้นด้วย

1.BTU (British Thermal Units)

เป็นหน่วยวัดค่าพลังงานความร้อนตามมาตรฐานสากล เมื่อนำมาใช้ในส่วนของเครื่องปรับอากาศ จะหมายถึง ความสามารถในการทำความเย็น ถ่ายเทความร้อนออกจากห้องภายในเวลา 1 ชั่วโมง โดยคำนวณเป็น ความร้อน 1 BTU เท่ากับปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเราไฮต์ ยิ่งตัวเลข BTU เยอะก็แสดงว่าแอร์เครื่องนั้นทำความเย็นได้มาก

2.คอยล์ (coil)

ชิ้นส่วนที่เชื่อมต่อกับคอมเพรสเซอร์ มีหน้าที่ให้น้ำยาแอร์ไหลผ่านและแลกเปลี่ยนความร้อน ให้เกิดเป็นระบบหมุนเวียนภายใน ปล่อยความเย็นสู่ห้อง และนำความร้อนออกสู่ภายนอก ซึ่งคอยล์ที่อยู่ในเครื่องปรับอากาศจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอยล์ร้อน และคอยล์เย็นซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน

2.1.คอยล์เย็น (Condenser)

คอยล์เย็นเป็นส่วนประกอบหลักของระบบทำความเย็น ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อน เมื่ออากาศไหลผ่านแผงคอยล์เย็นก็จะได้ความเย็นออกมา สารทำความเย็นภายในคอยล์เย็นจะเดือดเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สเมื่อได้รับความร้อนเข้ามา และไหวเวียนกับไปที่คอมเพรสเซอร์

2.2.คอยล์ร้อน (Evaporator)

เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศที่สำคัญมากอีกตัวหนึ่ง ทำหน้าที่ทำให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะจากไอเป็นของเหลวโดยการควบแน่น ที่มีแรงอัดจากคอนเพรสเซอร์ ใช้พัดลมดูดอากาศบริเวณโดยรอบมาระบายความร้อนให้กับสารทำความเย็น

3.คอมเพรสเซอร์ (Compressor)

เป็นอุปกรณ์หลักที่สำคัญอันหนึ่งของระบบทำความเย็น คอนเพรสเซอร์ทำหน้าที่อัดสารทำความเย็นหรือที่เราเรียกว่าน้ำยาแอร์ส่งไปยังส่วนควบแน่นที่มีแรงดันสูงหรือคอนเดนเซอร์คอยล์ โดยคอมเพรสเซอร์จะอัดแรงดันสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นก๊าซ และในอีกด้านของการทำงานของคอมเพรสเซอร์ จะทำหน้าที่ดูดสารทำความเย็นที่มีสถานะที่เป็นก๊าซจากการแลกเปลี่ยนความร้อนของคอยล์เย็น กลับเข้ามาหมุนเวียนเพื่อเริ่มต้นกระบวนการอีกครั้ง

4.สารทำความเย็น (Refrigerant)

สารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ เป็นตัวกลางในการทำความเย็นทำหน้าที่รับ ดูดซับ และนำพาความร้อน เพื่อให้เกิดการขยายตัว หรือมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวให้กลายเป็นไอหรือแก๊ส และเมื่อกลายเป็นไอแก๊สแล้ว จะสามารถคืนตัวเปลี่ยนสถานะกลายเป็นของเหลวได้อีกครั้ง

5.เทคโนโลยีระบบ Inverter

ระบบควบคุมไฟฟ้ามีหน้าที่ปรับสมดุลของอากาศภายในห้อง เมื่อถึงอุณหภูมิที่ต้องการคอมเพรสเซอร์ก็ยังคงทำงานต่อไป โดยใช้พลังงานต่ำกว่าเดิม ซึ่งระบบ Inverter จะควบคุมการทำงานของคอนเพรสเซอร์ให้รักษาอุณหภูมิของห้องให้คงที่ เพื่อทำให้ห้องเย็นสบายต่อเนื่อง

6.ค่า SEER (Seasonal Energy Effciency Ratio)

ค่าประสิทธิภาพจากการทำคำนวณ กฟผ. (การไฟฟ้าผลิตแห่งประเทศไทย) ที่ใช้วัดความประหยัดพลังงานของเครื่องปรับอากาศชนิด Inverter หรือ Variable Speed การวัดประสิทธิภาพภายในอุณหภูมิภายนอกที่เปลี่ยนแปรตามฤดูกาลทำให้ประเมินได้แม่นยำมากขึ้น จำง่ายๆเลย ค่า SEER ยิ่งสูงจะประหยัดพลังงานได้มากยิ่งขึ้น

7.ค่า EER (Energy Efficiency Ratio)

คือค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ มีหน่วยเป็น (Btu/Hr./W) ค่า EER นั้นก็คืออัตราส่วนของความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้จริง เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูงก็แสดงว่า เครื่องปรับอากาศนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดียิ่งขึ้น

8.แวคคั่ม (Vacuum)

การทำแวคคั่มแอร์จะทำให้การทำความเย็นของแอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิมากขึ้น โดยการใช้ปั๊มดูดเอาอากาศและความชื้น ที่เป็นตัวการทำให้ระบบเครื่องทำความเย็นทำงานได้ไม่ดีออกให้หมด เพราะความชื้นนั้นก่อให้เกิดการควบแน่นกลายเป็นน้ำไปขัดขวางการเดินของน้ำยาแอร์และยังเกิดเป็นกรดไปกัดกร่อนท่อแอร์ได้อีกด้วย

9.ฟิลเตอร์ (Filter)

หรือเรียกอีกอย่างว่าแผ่นกรองฝุ่นที่อยู่ด้านในเครื่องปรับอากาศนั้งเอง มีหน้าที่ดักจับฝุ่นที่อยู่ในอากาศ ซึ่งหากมีการสะสมของฝุ่นจำนวนมากอาจส่งผลเสียต่อร่างกายเรา และควรทำความสะอาดแผ่นฟิลเตอร์กรองเป็นประจำ อย่างน้อยทุกๆ 2 สัปดาห์

10.ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ติดดาว

ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานที่ได้มาตรฐานตามที่ กฟผ. และกระทรวงพลังงานกำหนด โดยฉลากประหยัดไฟจะมีระดับความประหยัดตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 5 ซึ่งคือระดับที่ประหยัดไฟมากที่สุด และดาวที่เพิ่มขึ้นมา คือเกณฑ์บอกประสิทธิภาพพลังงาน ที่จะแบ่งออกเป็น 6 ระดับคือ เบอร์ 5, เบอร์ 5 หนึ่งดาว, เบอร์ 5 สองดาว, เบอร์ 5 สามดาว, เบอร์ 5 สี่ดาว, เบอร์ 5 ห้าดาว โดยยิ่งดาวที่มากขึ้นหมายถึงความประหยัดที่มากกว่า แต่ละดาวที่เพิ่มขึ้นนั้นจะแสดงถึงความสามารถในการประหยัดค่าไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น